เส้นทางท่องเที่ยวพหุวัฒนธรรม (พุทธ มุสลิม จีน)
เส้นทางท่องเที่ยว 3 สถานที่
  • วัดมุจลินทวาปีวิหาร (หลวงพ่อดำ)
    วัดมุจลินทวาปีวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมือง 10 กิโลเมตร ริมทางหลวงสายปัตตานี - โคกโพธิ์ ในเขตสุขาภิบาลอำเภอหนองจิง เป็นวัดเก่าแก่สร้างเมื่อพระยาวิเชียรภักดีศรีสงคราม ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจิกจากที่เก่ามาอยู่ที่ตำบลตุยง เมื่อ พ.ศ.2388 เดิมมีชื่อว่าวัดตุยง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองหนองจิก และมีพระราชศรัทธาบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างพระอุโบสถ และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดมุจลินทวาปีวิหาร" ปัจจุบันเป็นอารามหลวงและมีการบูรณะพระอุโบสถให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงสวยงาม จุดเด่นของวัดคือวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษบานรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาส 3 องค์ โดยเฉพาะพระราชพุทธรังษีหรือหลวงพ่อดำ เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ซึ่งประชาชนที่เคยได้ยินคุณความดีของหลวงพ่อ ต่างเลื่อมใสศรัทธาและเดินทางมาสักการะบูชาอยู่เสมอ
    วัดมุจลินทวาปีวิหาร (หลวงพ่อดำ)
    วัดมุจลินทวาปีวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมือง 10 กิโลเมตร ริมทางหลวงสายปัตตานี - โคกโพธิ์ ในเขตสุขาภิบาลอำเภอหนองจิง เป็นวัดเก่าแก่สร้างเมื่อพระยาวิเชียรภักดีศรีสงคราม ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจิกจากที่เก่ามาอยู่ที่ตำบลตุยง เมื่อ พ.ศ.2388 เดิมมีชื่อว่าวัดตุยง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองหนองจิก และมีพระราชศรัทธาบริจาคเงินเพื่อก่อสร้างพระอุโบสถ และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดมุจลินทวาปีวิหาร" ปัจจุบันเป็นอารามหลวงและมีการบูรณะพระอุโบสถให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงสวยงาม จุดเด่นของวัดคือวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษบานรูปเหมือนของอดีตเจ้าอาวาส 3 องค์ โดยเฉพาะพระราชพุทธรังษีหรือหลวงพ่อดำ เจ้าอาวาสองค์ที่ 5 ซึ่งประชาชนที่เคยได้ยินคุณความดีของหลวงพ่อ ต่างเลื่อมใสศรัทธาและเดินทางมาสักการะบูชาอยู่เสมอ
  • มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
    มัสยิดกลางปัตตานีส่วนใหญ่จะใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ (ละหมาด) วันละ 5 เวลา เป็นกิจวัตรประจำวัน ใช้ในการละหมาดวันศุกร์ และการละหมาดในวันตรุษต่าง ๆ โดยมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ปัตตานี และพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในวันศุกร์และวันเสาร์ จะมีการบรรยายธรรมะมีผู้เข้าฟังการบรรยาย ประมาณครั้งละ 3,000 คน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในหลักการของศาสนา และเพื่อความถูกต้องในการบำเพ็ญศาสนกิจ
    มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี
    มัสยิดกลางปัตตานีส่วนใหญ่จะใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ (ละหมาด) วันละ 5 เวลา เป็นกิจวัตรประจำวัน ใช้ในการละหมาดวันศุกร์ และการละหมาดในวันตรุษต่าง ๆ โดยมีชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ปัตตานี และพื้นที่อื่นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในวันศุกร์และวันเสาร์ จะมีการบรรยายธรรมะมีผู้เข้าฟังการบรรยาย ประมาณครั้งละ 3,000 คน เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในหลักการของศาสนา และเพื่อความถูกต้องในการบำเพ็ญศาสนกิจ
  • ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือศาลเจ้าเล่งจูเกียง
    เป็นที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอเจ้าแม่ทับทิม และองค์พระอีกหลายองค์ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นที่เลื่อมใสของชาวไทยเชื้อสายจีน ทั้งในท้องถิ่น และจากจีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ พิธีแห่เจ้าแม่ลุยน้ำจัดขึ้นทุกปีเพื่อรำลึกถึงความยากลำบากที่นางเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากเมืองจีนเพื่อตามหาลิ้มโต๊ะเคี่ยม พี่ชาย เดิมศพของเจ้าแม่ฝังอยู่ที่ชายฝั่งอ่าวปัตตานี (ต่อมาชายฝั่งถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนฮวงซุ้ยจมอยู่ในอ่าว) ปัจจุบันได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่ฮวงซุ้ยใกล้มัสยิดกรือเซะ ส่วนพิธีลุยไฟจัดขึ้นจากความศรัทธาในอภินิหารของเจ้าแม่ว่าสามารถคุ้มครองปกป้องภัยและเพื่อความเป็นสิริมงคล ศาลเจ้าได้จัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว อาทิ อาคารที่พักค้างคืนอัฒจันทร์ สำหรับนั่งชมพิธีลุยไฟในเทศกาล
    ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือศาลเจ้าเล่งจูเกียง
    เป็นที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอเจ้าแม่ทับทิม และองค์พระอีกหลายองค์ เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นที่เลื่อมใสของชาวไทยเชื้อสายจีน ทั้งในท้องถิ่น และจากจีน มาเลเซีย และสิงคโปร์ พิธีแห่เจ้าแม่ลุยน้ำจัดขึ้นทุกปีเพื่อรำลึกถึงความยากลำบากที่นางเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลจากเมืองจีนเพื่อตามหาลิ้มโต๊ะเคี่ยม พี่ชาย เดิมศพของเจ้าแม่ฝังอยู่ที่ชายฝั่งอ่าวปัตตานี (ต่อมาชายฝั่งถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนฮวงซุ้ยจมอยู่ในอ่าว) ปัจจุบันได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่ฮวงซุ้ยใกล้มัสยิดกรือเซะ ส่วนพิธีลุยไฟจัดขึ้นจากความศรัทธาในอภินิหารของเจ้าแม่ว่าสามารถคุ้มครองปกป้องภัยและเพื่อความเป็นสิริมงคล ศาลเจ้าได้จัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว อาทิ อาคารที่พักค้างคืนอัฒจันทร์ สำหรับนั่งชมพิธีลุยไฟในเทศกาล
Other Routes...