เรียนรู้ชุมชนแห่งภูมิปัญญา สืบสานคุณค่ามรดกไทย สัมผัสหัวใจชุมชนพอเพียง
เส้นทางท่องเที่ยว 8 สถานที่
  • พุทธอุทยานเพชบุระ
    พุทธอุทยานเพชบุระ จ.เพชรบูรณ์ สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา ซึ่งเกิดขึ้นจากชาวจังหวัดเพชรบูรณ์พร้อมใจกันสร้างพระพุทธมหาธรรมราชาจำลององค์ใหญ่
    พุทธอุทยานเพชบุระ
    พุทธอุทยานเพชบุระ จ.เพชรบูรณ์ สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา ซึ่งเกิดขึ้นจากชาวจังหวัดเพชรบูรณ์พร้อมใจกันสร้างพระพุทธมหาธรรมราชาจำลององค์ใหญ่
  • วัดพระธาตุช่อแฮ
    วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ ศิลปะเชียงแสน แบบแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก องค์พระธาตุสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำ และชุดท้องไม้แปดเหลี่ยมซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้นจนถึง องค์ระฆัง แปดเหลี่ยมถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉนส่วนยอดฉัตรประดับ ตกแต่งด้วยเครื่อง บนแบบล้านนา มีรั้วเหล็ก รอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม ทุกปีจะมีประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เดิมจะจัด 5 วัน 5 คืน ได้เปลี่ยนแปลงเป็น 7 วัน 7 คืน วันแรกของงาน จะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 6เหนือ เดือน 4 ไต้ของทุกปีซึ่งถือว่าการจัดงานไหว้พระธาตุช่อแฮ ยึดถือตาม จันทรคติเป็นหลัก ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ในการจัดงานมี...
    วัดพระธาตุช่อแฮ
    วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ ศิลปะเชียงแสน แบบแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก องค์พระธาตุสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำ และชุดท้องไม้แปดเหลี่ยมซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้นจนถึง องค์ระฆัง แปดเหลี่ยมถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉนส่วนยอดฉัตรประดับ ตกแต่งด้วยเครื่อง บนแบบล้านนา มีรั้วเหล็ก รอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม ทุกปีจะมีประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เดิมจะจัด 5 วัน 5 คืน ได้เปลี่ยนแปลงเป็น 7 วัน 7 คืน วันแรกของงาน จะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 6เหนือ เดือน 4 ไต้ของทุกปีซึ่งถือว่าการจัดงานไหว้พระธาตุช่อแฮ ยึดถือตาม จันทรคติเป็นหลัก ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ในการจัดงานมี...
  • อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
    ในชุมชนที่เราอยู่อาศัย นอกจากบ้านเรือนและผู้คน ยังคงมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนในชุมชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และแสดงซึ่งศาสนาที่คนในชุมชนนับถือ นั่นคือ ศาสนสถาน หรือ เทวสถาน ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานก็ย่อมมีกิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นในชุมชนนั้นๆมากมาย และเมื่อมีเหตุให้ต้องย้ายถิ่นฐานก็มักจะทิ้งร่องรอยต่างๆเอาไว้ ให้คนรุ่นหลังและนักโบราณคดีได้เข้ามาศึกษาและพิสูจน์ถึงความเป็นจริงในอดีต
    อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
    ในชุมชนที่เราอยู่อาศัย นอกจากบ้านเรือนและผู้คน ยังคงมีอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนในชุมชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และแสดงซึ่งศาสนาที่คนในชุมชนนับถือ นั่นคือ ศาสนสถาน หรือ เทวสถาน ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานก็ย่อมมีกิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นในชุมชนนั้นๆมากมาย และเมื่อมีเหตุให้ต้องย้ายถิ่นฐานก็มักจะทิ้งร่องรอยต่างๆเอาไว้ ให้คนรุ่นหลังและนักโบราณคดีได้เข้ามาศึกษาและพิสูจน์ถึงความเป็นจริงในอดีต
  • ชุมชนบ้านบ่อสวก
    ชุมชนแห่งภูมิปัญญาที่มีชีวิต ส่งต่อมรดกจากรุ่นสู่รุ่น ชุมชนบ้านบ่อสวก เป็นเมืองเก่าแห่งชายแดนล้านนาตะวันออก อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ของชุมชน และยังเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศ มีเสน่ห์ชวนให้เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ่อสวกที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะ สวนเกษตรอินทรีย์ป้านึก บ้านเชียงยืน ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวิถีน่าน ที่มีการสาธิตการทำเกษตรอินทรีย์ การแปรรูปงานจักรสานและอื่นๆที่สะท้อนวิถีชีวิตคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ภายในชุมชนมี วัดบ่อสวกที่ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ่อสวก ที่นอกจากจะเป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการสอนเรื่องศีลธรรมในการดำรงชีวิต จากนั้นเมื่อเข้าไปในชุมชนจะพบสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อย่างบ้านโบราณเฮือนอุ๊ยดี เป็นเรือนไม้เก่าแก่อายุราว 100 ปี ตัวบ้านยกใต้ถุนสูง เสาเรือนทำจากไม้ทั้งต้น ซึ่งปัจจุบันเจ้าของยังใช้พักอาศัยอยู่ ต่อมาเป็น แหล่งเตาเผาโบราณบ้านจ่ามนัส
    ชุมชนบ้านบ่อสวก
    ชุมชนแห่งภูมิปัญญาที่มีชีวิต ส่งต่อมรดกจากรุ่นสู่รุ่น ชุมชนบ้านบ่อสวก เป็นเมืองเก่าแห่งชายแดนล้านนาตะวันออก อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ของชุมชน และยังเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศ มีเสน่ห์ชวนให้เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ่อสวกที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะ สวนเกษตรอินทรีย์ป้านึก บ้านเชียงยืน ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวิถีน่าน ที่มีการสาธิตการทำเกษตรอินทรีย์ การแปรรูปงานจักรสานและอื่นๆที่สะท้อนวิถีชีวิตคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ภายในชุมชนมี วัดบ่อสวกที่ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ่อสวก ที่นอกจากจะเป็นสถานที่ทำพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญในการสอนเรื่องศีลธรรมในการดำรงชีวิต จากนั้นเมื่อเข้าไปในชุมชนจะพบสิ่งที่น่าสนใจมากมาย อย่างบ้านโบราณเฮือนอุ๊ยดี เป็นเรือนไม้เก่าแก่อายุราว 100 ปี ตัวบ้านยกใต้ถุนสูง เสาเรือนทำจากไม้ทั้งต้น ซึ่งปัจจุบันเจ้าของยังใช้พักอาศัยอยู่ ต่อมาเป็น แหล่งเตาเผาโบราณบ้านจ่ามนัส
  • วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า "ในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้นและทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง" ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
    วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ ส่วนในพงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า "ในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้นและทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง" ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
  • วัดภูมินทร์
    วัดหลวงเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 400 ปีที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองน่าน ด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้ประวัติการสร้างวัดภูมินทร์ตามพงศาวดารเมืองน่าน ได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นมา หลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2139 อีกทั้งยังมีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” และต่อมาในภายหลัง ชื่อวัดได้เพี้ยนไปกลายเป็นวัดภูมินทร์
    วัดภูมินทร์
    วัดหลวงเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 400 ปีที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองน่าน ด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้ประวัติการสร้างวัดภูมินทร์ตามพงศาวดารเมืองน่าน ได้กล่าวไว้ว่า พระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่านได้สร้างวัดภูมินทร์ขึ้นมา หลังจากที่ครองนครน่านได้ 6 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2139 อีกทั้งยังมีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่า วัดแห่งนี้เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” และต่อมาในภายหลัง ชื่อวัดได้เพี้ยนไปกลายเป็นวัดภูมินทร์
  • วัดศรีพันต้น
    หากพูดถึงสถาปัตยกรรมในแต่ละภาคจะมีสถาปัตยกรรมที่ต่างกันออกไป ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์และความเป็นมาของสังคมนั้นๆ ซึ่งภาคเหนือเป็นอีกภาคหนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นและน่าสนใจเป็นเอกลักษณ์ นอกจากเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาในอดีตแล้ว จังหวัดที่เป็นเมืองบริวารของอาณาจักรล้านนาก็มีสถาปัตยกรรมที่งดงามและโดดเด่นเช่นกัน น่าน เป็นเมืองเล็กๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของล้านนามาเกือบ 100 ปี จึงซึมซับความเป็นล้านนามาได้มาก ภายในจังหวัดน่านมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ
    วัดศรีพันต้น
    หากพูดถึงสถาปัตยกรรมในแต่ละภาคจะมีสถาปัตยกรรมที่ต่างกันออกไป ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์และความเป็นมาของสังคมนั้นๆ ซึ่งภาคเหนือเป็นอีกภาคหนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่นและน่าสนใจเป็นเอกลักษณ์ นอกจากเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาในอดีตแล้ว จังหวัดที่เป็นเมืองบริวารของอาณาจักรล้านนาก็มีสถาปัตยกรรมที่งดงามและโดดเด่นเช่นกัน น่าน เป็นเมืองเล็กๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของล้านนามาเกือบ 100 ปี จึงซึมซับความเป็นล้านนามาได้มาก ภายในจังหวัดน่านมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจ
  • วัดมหาธาตุ
    วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ภายในวัดมีพื้นที่กว้างขวาง ทางด้านหน้าของวัดท่านสามารถเห็นพระประธานและเจดีย์ประธานของวัดได้อย่างชัดเจน สะท้อนถึงความรุ่งเรืองแห่งอาณาจักรสุโขทัยในอดีต เมื่อเดินเข้ามาทางด้านในของวัด ท่านจะผ่านเสาต้นใหญ่ที่เรียงตัวกันอยู่สองข้างของท่าน เสาเหล่านี้คือเสาของวิหารสูงที่หลงเหลืออยู่ หากจินตนาการตามขนาดของเสาแล้วพระวิหารคงจะมีขนาดที่ใหญ่พอสมควร เมื่อถัดจากพระวิหารไป ท่านจะเห็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ด้านหลังเป็นพระวิหารหลวงสถานที่ที่เคยประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พระนามว่า พระศรีศากยมุนี ด้านหลังพระวิหาร ท่านจะเห็นเจดีย์ประธานของวัดซึ่งเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นทรงเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมสมัยสุโขทัยเป็นศิลปกรรมแบบไทยแท้ ไม่เหมือนเจดีย์อื่นใดที่ทุกท่านเคยเห็นมาเนื่องจากไม่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมอื่นมาแต่อย่างใด และเชื่อกันว่าด้านในเจดีย์ประธานเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถัดออกไปเป็นพระวิหารขนาดเล็กประดิษฐานพุทธะรูปปร...
    วัดมหาธาตุ
    วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ภายในวัดมีพื้นที่กว้างขวาง ทางด้านหน้าของวัดท่านสามารถเห็นพระประธานและเจดีย์ประธานของวัดได้อย่างชัดเจน สะท้อนถึงความรุ่งเรืองแห่งอาณาจักรสุโขทัยในอดีต เมื่อเดินเข้ามาทางด้านในของวัด ท่านจะผ่านเสาต้นใหญ่ที่เรียงตัวกันอยู่สองข้างของท่าน เสาเหล่านี้คือเสาของวิหารสูงที่หลงเหลืออยู่ หากจินตนาการตามขนาดของเสาแล้วพระวิหารคงจะมีขนาดที่ใหญ่พอสมควร เมื่อถัดจากพระวิหารไป ท่านจะเห็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ด้านหลังเป็นพระวิหารหลวงสถานที่ที่เคยประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พระนามว่า พระศรีศากยมุนี ด้านหลังพระวิหาร ท่านจะเห็นเจดีย์ประธานของวัดซึ่งเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นทรงเจดีย์ที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปกรรมสมัยสุโขทัยเป็นศิลปกรรมแบบไทยแท้ ไม่เหมือนเจดีย์อื่นใดที่ทุกท่านเคยเห็นมาเนื่องจากไม่ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมอื่นมาแต่อย่างใด และเชื่อกันว่าด้านในเจดีย์ประธานเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถัดออกไปเป็นพระวิหารขนาดเล็กประดิษฐานพุทธะรูปปร...
Other Routes...