เส้นทางท่องเที่ยวอำเภอเมือง
เส้นทางท่องเที่ยว 5 สถานที่
  • โบสถ์เรืออนันตนาคราช (วัดหนองหูลิง)
    บสถ์รูปเรือนี้หมายถึงเรือบุญ เมื่อจะเข้าโบสถ์ต้องลอดใต้พระราหุลเพื่อให้พระราหุลกลืนกินสิ่งไม่ดีในตัวเรา ประตูที่เล็กและต่ำจะทำให้เราต้องรู้จักนอบน้อมถ่อมตน และเมื่อเงยหน้าขึ้นก็จะเห็นพระประธานปรางค์ประถมเทศนาศิลปะแบบทวารวดีอยู่ตรงหน้าพอดี เดินรอบโบสถ์เพื่อเรียนรู้ปริศนาธรรมที่ซ้อนไว้ในมุมต่างๆของโบสถ์เต็มไปหมด นี้เป็นผลงานการออกแบบของท่านเจ้าอาวาส คือท่านพระครูบวรธรรมปคุณ และก่อสร้างโดยช่างชาวบ้านในชุมชน แต่หากได้ผลงานศิลปะที่สวยงามลงตัวทรงคุณค่า เปรียบดั่งเรือโนอาห์แห่งพระพุทธศาสนา เพียงมิได้สร้างไว้เพื่อบรรจุสิงสาราสัตว์ หากแต่สร้างไว้บรรจุบุญและความดี เชิญชมได้ที่ อ.แกดำ จ.มหาสารคาม การเดินไปที่วัดนี้ให้เดินทางโดยใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด ออกจากสารคามราว 10 กิโลเมตร จะถึงบ้านเขวามองหาป้ายวัดหนองหูลิงแล้วเลี้ยวขวา เดินทางไปเรื่อยจนถึงบ้านหนองหูลิง (เส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังสะพานไม้แกดำได้ด้วย) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงนิยมวางทริปเที่ยววัดนี้ ต่อเนื่องกับสะพานไม้แกดำเสมอๆ
    โบสถ์เรืออนันตนาคราช (วัดหนองหูลิง)
    บสถ์รูปเรือนี้หมายถึงเรือบุญ เมื่อจะเข้าโบสถ์ต้องลอดใต้พระราหุลเพื่อให้พระราหุลกลืนกินสิ่งไม่ดีในตัวเรา ประตูที่เล็กและต่ำจะทำให้เราต้องรู้จักนอบน้อมถ่อมตน และเมื่อเงยหน้าขึ้นก็จะเห็นพระประธานปรางค์ประถมเทศนาศิลปะแบบทวารวดีอยู่ตรงหน้าพอดี เดินรอบโบสถ์เพื่อเรียนรู้ปริศนาธรรมที่ซ้อนไว้ในมุมต่างๆของโบสถ์เต็มไปหมด นี้เป็นผลงานการออกแบบของท่านเจ้าอาวาส คือท่านพระครูบวรธรรมปคุณ และก่อสร้างโดยช่างชาวบ้านในชุมชน แต่หากได้ผลงานศิลปะที่สวยงามลงตัวทรงคุณค่า เปรียบดั่งเรือโนอาห์แห่งพระพุทธศาสนา เพียงมิได้สร้างไว้เพื่อบรรจุสิงสาราสัตว์ หากแต่สร้างไว้บรรจุบุญและความดี เชิญชมได้ที่ อ.แกดำ จ.มหาสารคาม การเดินไปที่วัดนี้ให้เดินทางโดยใช้เส้นทางสายร้อยเอ็ด ออกจากสารคามราว 10 กิโลเมตร จะถึงบ้านเขวามองหาป้ายวัดหนองหูลิงแล้วเลี้ยวขวา เดินทางไปเรื่อยจนถึงบ้านหนองหูลิง (เส้นทางนี้สามารถเชื่อมต่อไปยังสะพานไม้แกดำได้ด้วย) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงนิยมวางทริปเที่ยววัดนี้ ต่อเนื่องกับสะพานไม้แกดำเสมอๆ
  • สะพานไม้วัดป่าวังเกาะเกิ้ง
    สะพานไม้วัดป่าวังเกาะเกิ้งเพิ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านใช้เป็นทางเชื่อมเข้าหาเกาะเกิ้ง เกาะที่ถูกโอบล้อมด้วยติ่งแม่น้ำชีหรือชีหลง ที่มีสำนักสงฆ์ที่ชาวบ้านศรัทธาตั้งอยู่ สะพานไม้นี้มีความแข็งแรงมาก รถบรรทุกสามารถวิ่งผ่านได้สบายหายห่วงเลยแหละ และยังมีศาลาไว้นั่งพักชมวิวชีหลงอยู่กลางสะพาน แถมใต้สะพานยังเต็มไปด้วยฝูงปลาที่อยู่ในเขตอภัยทานของวัดด้วย ความน่ารักของวัดป่าวังเกาะเกิ้งยังไม่หมดเท่านี้เพราะในวัดมีหมูป่าที่ถูกเลี้ยงไว้อีกจำนวนมาก เจ้าหมูป่าเหล่านี้ทั้งเชื่องและแสนรู้จนนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปถ่ายรูปได้ใกล้ๆ แบบไร้ความกังวลเลย การเดินทางก็ไม่ยากเลย ให้เริ่มตั้งต้นที่หอนาฬิกาเมืองมหาสารคาม มุ่งหน้าไปเส้นกาฬสินธุ์ ถนนหมายเลข 2367 ไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านเกิ้งเข้าซอยซ้ายมือเพื่อข้ามสะพานหน้าวัดบ้านเกิ้งเหนือ แล้วเลี้ยวขวาไปทางลูกรังราว 3 กิโลเมตร ก็จะพบกับสะพานไม้วัดป่าวังเกาะเกิ้งตั้งตระหง่านอยู่ด้านขวามือ เดินทางง่ายๆแบบนี้ ต้องลองไปเที่ยวดูสักครั้ง เผื่อจะได้รูปเซลฟี่กับเจ้าหมูป่ามาอวดเพื่อนให้แปลกใจเล่นก็ได้
    สะพานไม้วัดป่าวังเกาะเกิ้ง
    สะพานไม้วัดป่าวังเกาะเกิ้งเพิ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านใช้เป็นทางเชื่อมเข้าหาเกาะเกิ้ง เกาะที่ถูกโอบล้อมด้วยติ่งแม่น้ำชีหรือชีหลง ที่มีสำนักสงฆ์ที่ชาวบ้านศรัทธาตั้งอยู่ สะพานไม้นี้มีความแข็งแรงมาก รถบรรทุกสามารถวิ่งผ่านได้สบายหายห่วงเลยแหละ และยังมีศาลาไว้นั่งพักชมวิวชีหลงอยู่กลางสะพาน แถมใต้สะพานยังเต็มไปด้วยฝูงปลาที่อยู่ในเขตอภัยทานของวัดด้วย ความน่ารักของวัดป่าวังเกาะเกิ้งยังไม่หมดเท่านี้เพราะในวัดมีหมูป่าที่ถูกเลี้ยงไว้อีกจำนวนมาก เจ้าหมูป่าเหล่านี้ทั้งเชื่องและแสนรู้จนนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปถ่ายรูปได้ใกล้ๆ แบบไร้ความกังวลเลย การเดินทางก็ไม่ยากเลย ให้เริ่มตั้งต้นที่หอนาฬิกาเมืองมหาสารคาม มุ่งหน้าไปเส้นกาฬสินธุ์ ถนนหมายเลข 2367 ไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านเกิ้งเข้าซอยซ้ายมือเพื่อข้ามสะพานหน้าวัดบ้านเกิ้งเหนือ แล้วเลี้ยวขวาไปทางลูกรังราว 3 กิโลเมตร ก็จะพบกับสะพานไม้วัดป่าวังเกาะเกิ้งตั้งตระหง่านอยู่ด้านขวามือ เดินทางง่ายๆแบบนี้ ต้องลองไปเที่ยวดูสักครั้ง เผื่อจะได้รูปเซลฟี่กับเจ้าหมูป่ามาอวดเพื่อนให้แปลกใจเล่นก็ได้
  • สะพานไม้แกดำ
    สะพานเชื่อมใจ สายใยที่ขาดจากกันไม่ได้ .... เมื่อร้อยกว่าปีก่อนชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีแล้งมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด มี“หลวงปู่จ้อย” เป็นพระเกจิที่นำพาชาวบ้านมา ณ ที่แห่งนี้ เมื่อมาพบชัยภูมิที่ดีจึงตั้งหมู่บ้านขึ้นที่นี่ให้ชื่อว่า “บ้านแกดำ” ชุมชนอยู่อย่างผาสุขมายาวนานครัวเรือนขยายมากจนต้องมีการย้ายเรือนข้ามฝากไปตั้งบ้านใหม่ชื่อว่า “บ้านหัวขัว” ยังริมฝั่งคลองอีกฝาก ซึ่งคลองนี้ดั้งเดิมกว้างเพียง 20 เมตร ชาวบ้านจึงไปมาหาสู่กันไม่ยากนักโดยใช้เรืออีโปงที่ทำจากขอนตาลและสร้างสะพานเล็กๆไว้เดินข้าม มาถึงวันที่ทางรัฐได้ทำการขุดหนองน้ำเพื่อการชลประทาน ทำให้คลองกว้างขึ้นจนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่กว้างราว ครึ่งกิโล การสัญจรของชาวบ้านจึงถึงคราลำบาก แต่เวิ้งน้ำหรือจะสู้ความคิดถึงใคร่ไปมาหาสู่ฉันญาติมิตรของชาวบ้านทั้งสองฝากฝั่งได้ ผู้คนจึงพากันระดมเศษไม้จากเรือกสวนไร่นาและเสารั้วบ้านเก่า บวกกับแรงคนที่ขนกันมาทั้ง 2 ฝั่ง สร้างเป็นสะพานไม้ยาว 500 เมตร ที่ทอดตัวคดเคี้ยวไปตามทุ่งบัวหลวงสานใจของญาติพี่น้องของทั้งสองหมู่บ้านไว้อย่างเหนียวแน่นดังเดิมอีกครั้งปัจจุบัน “สะพานไม้แกดำ” ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นสะพานไม้ที่มี...
    สะพานไม้แกดำ
    สะพานเชื่อมใจ สายใยที่ขาดจากกันไม่ได้ .... เมื่อร้อยกว่าปีก่อนชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีแล้งมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด มี“หลวงปู่จ้อย” เป็นพระเกจิที่นำพาชาวบ้านมา ณ ที่แห่งนี้ เมื่อมาพบชัยภูมิที่ดีจึงตั้งหมู่บ้านขึ้นที่นี่ให้ชื่อว่า “บ้านแกดำ” ชุมชนอยู่อย่างผาสุขมายาวนานครัวเรือนขยายมากจนต้องมีการย้ายเรือนข้ามฝากไปตั้งบ้านใหม่ชื่อว่า “บ้านหัวขัว” ยังริมฝั่งคลองอีกฝาก ซึ่งคลองนี้ดั้งเดิมกว้างเพียง 20 เมตร ชาวบ้านจึงไปมาหาสู่กันไม่ยากนักโดยใช้เรืออีโปงที่ทำจากขอนตาลและสร้างสะพานเล็กๆไว้เดินข้าม มาถึงวันที่ทางรัฐได้ทำการขุดหนองน้ำเพื่อการชลประทาน ทำให้คลองกว้างขึ้นจนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่กว้างราว ครึ่งกิโล การสัญจรของชาวบ้านจึงถึงคราลำบาก แต่เวิ้งน้ำหรือจะสู้ความคิดถึงใคร่ไปมาหาสู่ฉันญาติมิตรของชาวบ้านทั้งสองฝากฝั่งได้ ผู้คนจึงพากันระดมเศษไม้จากเรือกสวนไร่นาและเสารั้วบ้านเก่า บวกกับแรงคนที่ขนกันมาทั้ง 2 ฝั่ง สร้างเป็นสะพานไม้ยาว 500 เมตร ที่ทอดตัวคดเคี้ยวไปตามทุ่งบัวหลวงสานใจของญาติพี่น้องของทั้งสองหมู่บ้านไว้อย่างเหนียวแน่นดังเดิมอีกครั้งปัจจุบัน “สะพานไม้แกดำ” ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นสะพานไม้ที่มี...
  • อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย
    เวิ้งน้ำลำชีหลงที่คดโค้งเป็นทิวทัศน์สวยงาม กลายเป็นเขตอภัยทานของหมู่ปลาน้อยใหญ่นานาชนิดต่างมารวมกัน ณ ที่แห่งนี้จำนวนมาก มากเสียนจนตื่นตาตื่นใจ กลายเป็นที่พักผ่อนย่อนใจให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน บ้างมาให้อาหารปลา บ้างมาปล่อยปลาปล่อยเต่าสร้างกุศล บ้างมาชมบรรยากาศที่แสนจะสวยงาม ผละเรื่องวุ่นวายมานั่งหามุมสงบที่นี่ จัดว่าเป็นจุดชาร์ตแบตตารี่ชีวิตที่เหมาะที่สุดจุดหนึ่งของมหาสารคาม
    อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย
    เวิ้งน้ำลำชีหลงที่คดโค้งเป็นทิวทัศน์สวยงาม กลายเป็นเขตอภัยทานของหมู่ปลาน้อยใหญ่นานาชนิดต่างมารวมกัน ณ ที่แห่งนี้จำนวนมาก มากเสียนจนตื่นตาตื่นใจ กลายเป็นที่พักผ่อนย่อนใจให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน บ้างมาให้อาหารปลา บ้างมาปล่อยปลาปล่อยเต่าสร้างกุศล บ้างมาชมบรรยากาศที่แสนจะสวยงาม ผละเรื่องวุ่นวายมานั่งหามุมสงบที่นี่ จัดว่าเป็นจุดชาร์ตแบตตารี่ชีวิตที่เหมาะที่สุดจุดหนึ่งของมหาสารคาม
  • วัดป่าวังน้ำเย็น
    วัดป่าวังน้ำเย็น (วัดพุทธวนาราม) เกิดจากพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ เจ้าอาวาสวัดได้ดำริที่จะสร้างวัด จึงมีญาติโยมชาวมหาสารคามร่วมกันบริจาคที่ดินกว่าสามสิบไร่ มีพัฒนาที่ดินรกร้างที่เกิดจาคศรัทธาของพุทธศาสนิกชนจนวัดกลายเป็นวัดที่มีความสง่างาม เอกลักษณ์ของวัดป่าวังน้ำเย็นคือเป็นวัดที่ก่อสร้างโดยใช้ไม้เป็นองค์ประกอบหลักในการก่อสร้าง เช่นไม้แดง ไม้ประดู่ และไม้สักทอง โดดเด่นด้วยศาลาการเปรียญหลังใหญ่ที่ใช้เสาไม้ถึง 112 ต้น จัดว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในวัดประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องที่สร้างจากทองคำบริสุทธิ์ ถึง 3 องค์ น้ำหนักกว่า 12 กิโลกรัม ซึ่งวัดจะนำออกแห่รอบเมืองในงานทอดกฐินเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ชาวเมืองได้สักการบูชา ปัจจุบันอยู่ทางวัดอยู่ระหว่างการก่อสร้างเจดีย์ศรีมหาสารคาม ซึ่งจะกลายเป็นพระเจดีย์สำคัญแห่งที่สองของจังหวัดมหาสารคามรองจากพระธาตุนาดูน ปัจจุบันวัดป่าวังน้ำเย็นมีนักเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมมิได้ขาดและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนตัววัดก็มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยล้วนแต่เป็นสิ่งสวยงามที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาของเมืองตักศิลานคร
    วัดป่าวังน้ำเย็น
    วัดป่าวังน้ำเย็น (วัดพุทธวนาราม) เกิดจากพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ เจ้าอาวาสวัดได้ดำริที่จะสร้างวัด จึงมีญาติโยมชาวมหาสารคามร่วมกันบริจาคที่ดินกว่าสามสิบไร่ มีพัฒนาที่ดินรกร้างที่เกิดจาคศรัทธาของพุทธศาสนิกชนจนวัดกลายเป็นวัดที่มีความสง่างาม เอกลักษณ์ของวัดป่าวังน้ำเย็นคือเป็นวัดที่ก่อสร้างโดยใช้ไม้เป็นองค์ประกอบหลักในการก่อสร้าง เช่นไม้แดง ไม้ประดู่ และไม้สักทอง โดดเด่นด้วยศาลาการเปรียญหลังใหญ่ที่ใช้เสาไม้ถึง 112 ต้น จัดว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในวัดประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องที่สร้างจากทองคำบริสุทธิ์ ถึง 3 องค์ น้ำหนักกว่า 12 กิโลกรัม ซึ่งวัดจะนำออกแห่รอบเมืองในงานทอดกฐินเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ชาวเมืองได้สักการบูชา ปัจจุบันอยู่ทางวัดอยู่ระหว่างการก่อสร้างเจดีย์ศรีมหาสารคาม ซึ่งจะกลายเป็นพระเจดีย์สำคัญแห่งที่สองของจังหวัดมหาสารคามรองจากพระธาตุนาดูน ปัจจุบันวัดป่าวังน้ำเย็นมีนักเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมมิได้ขาดและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนตัววัดก็มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยล้วนแต่เป็นสิ่งสวยงามที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาของเมืองตักศิลานคร
Other Routes...