เส้นทางสายวัฒนธรรม นครจัมปาศรี (มหาสารคาม)
เส้นทางท่องเที่ยว 6 สถานที่
  • สิมวัดโพธาราม
    สิมวัดโพธาราม เปิดหัวชื่อสถานที่มาก็งงกันเลย เชื่อเลยว่าหลายคนคงไม่เข้าใจคำว่าสิม  สิม เป็นชื่อเรียกโบสถ์โบราณของภาคอีสาน มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งการก่อสร้างและลวดลายการวาดภาพฝาผนังที่หาดูได้ยากมาก สิมวัดโพธารามตั้งอยู่ที่บ้านดงบัง ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม สร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนพื้นเมือง ฐานยกสูง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีช่องหน้าต่าง ด้านหน้าสิมมีรูปปั้นพญานาค เอกลักษณ์ของสิมอีสานที่สมบูรณ์นั่นคือ  ฮูปแต้มฝีมือช่างท้องถิ่นชื่อนายซาลายและนายสิงห์ ที่ใช้เทคนิคการวาดด้วยสีฝุ่นวรรณะเย็น ถ่ายทอดเรื่องราวของพระเวชสันดรชาดก พุทธประวัติ พระมาลัย สินไซ สลับกันไปมา หลายตอนเป็นเรื่องราววิถีชีวิตของชาวบ้านและวัฒนธรรมอีสาน นอกจากนี้ในวัดยังมีศาลาการเปรียญเก่าแก่ที่เรียกว่า หอแจก ตั้งอยู่ข้างๆ อีกด้วย  เราสามารถเดินทางไปเยี่ยมชมได้โดยใช้เส้นทาง ออกจากตัวเมืองไปยังอำเภอวาปีปทุม ต่อด้วยถนน 2045 เลยแยกนาดูน และเลี้ยวขวาเข้าตำบลดงบังไป เพียง 500 เมตรเท่านั้น
    สิมวัดโพธาราม
    สิมวัดโพธาราม เปิดหัวชื่อสถานที่มาก็งงกันเลย เชื่อเลยว่าหลายคนคงไม่เข้าใจคำว่าสิม  สิม เป็นชื่อเรียกโบสถ์โบราณของภาคอีสาน มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งการก่อสร้างและลวดลายการวาดภาพฝาผนังที่หาดูได้ยากมาก สิมวัดโพธารามตั้งอยู่ที่บ้านดงบัง ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม สร้างแบบก่ออิฐฉาบปูนพื้นเมือง ฐานยกสูง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีช่องหน้าต่าง ด้านหน้าสิมมีรูปปั้นพญานาค เอกลักษณ์ของสิมอีสานที่สมบูรณ์นั่นคือ  ฮูปแต้มฝีมือช่างท้องถิ่นชื่อนายซาลายและนายสิงห์ ที่ใช้เทคนิคการวาดด้วยสีฝุ่นวรรณะเย็น ถ่ายทอดเรื่องราวของพระเวชสันดรชาดก พุทธประวัติ พระมาลัย สินไซ สลับกันไปมา หลายตอนเป็นเรื่องราววิถีชีวิตของชาวบ้านและวัฒนธรรมอีสาน นอกจากนี้ในวัดยังมีศาลาการเปรียญเก่าแก่ที่เรียกว่า หอแจก ตั้งอยู่ข้างๆ อีกด้วย  เราสามารถเดินทางไปเยี่ยมชมได้โดยใช้เส้นทาง ออกจากตัวเมืองไปยังอำเภอวาปีปทุม ต่อด้วยถนน 2045 เลยแยกนาดูน และเลี้ยวขวาเข้าตำบลดงบังไป เพียง 500 เมตรเท่านั้น
  • สิมวัดป่าเลไลย์
    สิมวัดป่าเลไลย์ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสิมวัดโพธารามมากนักห่างกันราว 1 กิโลเมตร เพียงขับรถเลยเข้าไปอีกเล็กน้อยก็จะพบทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือ ส่วนความงามของสิมหลังนี้ก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าสิมวัดโพธาราม แถมตั้งอยู่ในทำเลที่ดีกว่ามีลานวัดที่กว้างขวางและมีดงตาลที่รายรอบทำให้สิมหลังนี้โดดเด่นขึ้นมาทันที สิมวัดป่าเลไลย์หลังนี้สร้างด้วยวิธีก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเสารับปีกนกคลุมรอบด้าน ฮูปแต้มเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านวาดเรื่องราวรามเกียรติ์ พระเวชสันดรชาดก พุทธประวัติ พระมาลัย ภาพที่น่าสนใจในสิม นี้คือภาพต้นหมากมณีโคตร เป็นภาพของต้นไม้วิเศษ ที่เกิดกลางเกาะแม่น้ำโขง ณ ฝั่งนครเวียงจันทร์ ผู้วาดได้นำเรื่องราวนี้มาวาดไว้เหนือประตูทางเข้าสิมอย่างสวยงาม ในวันที่มีโอกาสพิเศษ น้องๆนักเรียนจากชมรมหนังประโมทัยโรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์์ ก็จะทำการแสดงหนังตะลุงอีสานโดยนำเรื่องราวจากภาพวาดบนผนัง สิมมาทำเป็นบทการแสดง ตัวหนังโลดแล่นผ่านแสงไฟ เสียงลำเสียงร้องกล่าวขานวรรณกรรมอันทรงคุณค่า ณ ลานหน้าสิม ภาพประทับใจแบบนี้ไม่ใช่จะพานพบกันได้บ่อยๆในชีวิตยุคปัจจุบัน สิมโบราณยิ่งผ่านวันเวลาคุณค่าก็ยิ่งเพิ่มขึ้น มิ...
    สิมวัดป่าเลไลย์
    สิมวัดป่าเลไลย์ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสิมวัดโพธารามมากนักห่างกันราว 1 กิโลเมตร เพียงขับรถเลยเข้าไปอีกเล็กน้อยก็จะพบทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือ ส่วนความงามของสิมหลังนี้ก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าสิมวัดโพธาราม แถมตั้งอยู่ในทำเลที่ดีกว่ามีลานวัดที่กว้างขวางและมีดงตาลที่รายรอบทำให้สิมหลังนี้โดดเด่นขึ้นมาทันที สิมวัดป่าเลไลย์หลังนี้สร้างด้วยวิธีก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเสารับปีกนกคลุมรอบด้าน ฮูปแต้มเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านวาดเรื่องราวรามเกียรติ์ พระเวชสันดรชาดก พุทธประวัติ พระมาลัย ภาพที่น่าสนใจในสิม นี้คือภาพต้นหมากมณีโคตร เป็นภาพของต้นไม้วิเศษ ที่เกิดกลางเกาะแม่น้ำโขง ณ ฝั่งนครเวียงจันทร์ ผู้วาดได้นำเรื่องราวนี้มาวาดไว้เหนือประตูทางเข้าสิมอย่างสวยงาม ในวันที่มีโอกาสพิเศษ น้องๆนักเรียนจากชมรมหนังประโมทัยโรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์์ ก็จะทำการแสดงหนังตะลุงอีสานโดยนำเรื่องราวจากภาพวาดบนผนัง สิมมาทำเป็นบทการแสดง ตัวหนังโลดแล่นผ่านแสงไฟ เสียงลำเสียงร้องกล่าวขานวรรณกรรมอันทรงคุณค่า ณ ลานหน้าสิม ภาพประทับใจแบบนี้ไม่ใช่จะพานพบกันได้บ่อยๆในชีวิตยุคปัจจุบัน สิมโบราณยิ่งผ่านวันเวลาคุณค่าก็ยิ่งเพิ่มขึ้น มิ...
  • พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
    พิพิธภันฑ์บ้านอีสาน ตั้งอยู่ในสถานีวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นพื้นที่ติดต่อกับพระบรมธาตุนาดูน ซึ่งได้เก็บรวบรวมเรือนไทยอีสานแบบดั้งเดิมของทุกชาติพันธุ์ของคนอีสาน โดยการค้นหาเรือนโบราณเหล่านี้จากทั่วทั้งภาคอีสานแล้วทำการย้ายมารวมกันไว้ที่นี่ พร้อมจำลองบรรยากาศหมู่บ้านของชุมชนชาวอีสานแบบดั้งเดิม ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ สถานที่แห่งนี้จะพาทุกท่านย้อนเวลาได้อย่างน่าพิศวง
    พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
    พิพิธภันฑ์บ้านอีสาน ตั้งอยู่ในสถานีวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นพื้นที่ติดต่อกับพระบรมธาตุนาดูน ซึ่งได้เก็บรวบรวมเรือนไทยอีสานแบบดั้งเดิมของทุกชาติพันธุ์ของคนอีสาน โดยการค้นหาเรือนโบราณเหล่านี้จากทั่วทั้งภาคอีสานแล้วทำการย้ายมารวมกันไว้ที่นี่ พร้อมจำลองบรรยากาศหมู่บ้านของชุมชนชาวอีสานแบบดั้งเดิม ไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ สถานที่แห่งนี้จะพาทุกท่านย้อนเวลาได้อย่างน่าพิศวง
  • กู่สันตรัตน์
    อารยธรรมเขมร เคยรุ่งเรืองที่มหาสารคามมาก่อน มีกู่ต่างๆมากมายในพื้นที่จังหวัดและที่โดดเด่นที่สุดก็คือกู่สันตรัตน์แห่งนี้ กู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่ที่ตำบล กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม สร้างด้วยศิลาแลง เป็นศิลปะขอมแบบบายน เชื่อว่าถูกสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1700-1750) ปราสาทปรางค์ประทานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าทางทิศตะวันออกเป็นลักษณะของโรคยาศาล (เป็นโรงพยาบาลสมัยโบราณ ใช้พักรักษาคนเจ็บและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา) แผ่นทับหลังและเสาปราสาททำด้วยหินทรายแต่ไม่มีการแกะสลัก ล้อมรอบด้วยกำแพงหินศิลาแลง บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทมีสระน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า “บาลาย” กว้าง 10 เมตร ยาว 12 เมตร ซึ่งยังคงอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และสวยงามจนถึงปัจจุบัน การเดินทาง ออกจาก อ.เมือง เข้า อ.วาปีปทุม ใช้เส้นทางหมายเลข 2045 เลี้ยวขวาทางแยกเข้า อ.นาดูน ใช้เส้นทางหมายเลข 2381 ทางเข้าอยู่ทางขวามือ หากมาจาก อ.นาเชือกจะผ่านตัวอำเภอก่อน ทางเข้าจะอยู่ซ้ายมือ
    กู่สันตรัตน์
    อารยธรรมเขมร เคยรุ่งเรืองที่มหาสารคามมาก่อน มีกู่ต่างๆมากมายในพื้นที่จังหวัดและที่โดดเด่นที่สุดก็คือกู่สันตรัตน์แห่งนี้ กู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่ที่ตำบล กู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม สร้างด้วยศิลาแลง เป็นศิลปะขอมแบบบายน เชื่อว่าถูกสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1700-1750) ปราสาทปรางค์ประทานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าทางทิศตะวันออกเป็นลักษณะของโรคยาศาล (เป็นโรงพยาบาลสมัยโบราณ ใช้พักรักษาคนเจ็บและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา) แผ่นทับหลังและเสาปราสาททำด้วยหินทรายแต่ไม่มีการแกะสลัก ล้อมรอบด้วยกำแพงหินศิลาแลง บริเวณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาทมีสระน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า “บาลาย” กว้าง 10 เมตร ยาว 12 เมตร ซึ่งยังคงอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และสวยงามจนถึงปัจจุบัน การเดินทาง ออกจาก อ.เมือง เข้า อ.วาปีปทุม ใช้เส้นทางหมายเลข 2045 เลี้ยวขวาทางแยกเข้า อ.นาดูน ใช้เส้นทางหมายเลข 2381 ทางเข้าอยู่ทางขวามือ หากมาจาก อ.นาเชือกจะผ่านตัวอำเภอก่อน ทางเข้าจะอยู่ซ้ายมือ
  • พระบรมธาตุนาดูน
    เราชาวพุทธการทำบุญเป็นเรื่องสำคัญ ผู้คนมักเดินทางไปไว้พระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่พึ่งทางใจ บ้างไปขอในสิ่งที่มุ่งหวังบ้างไปขอแค่ความสบายใจ พระธาตุนาดูนเป็นพุทธมณฑลแห่งภูมิภาคอีสาน จึงเป็นเสมือนสถานที่รวมจิตใจของผู้คน ต่างเดินทางมาที่นี่มิได้ขาดสายยิ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาแล้วละก็ ผู้คนหล่ังไหลนับเป็นเรือนหมื่นเรือนแสน ราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ชาวอำเภอนาดูนก็จะร่วมใจกันจัด “งานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน” นี่แหละคืองานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองมหาสารคาม มีการบวงสรวงองค์พระธาตุ การสวดมนต์ การทำบุญ ตอนกลางคืนก็มีการประดับไฟองค์พระธาตุอย่างสวยงาม หายทุกข์ หายโศก ได้โชค ได้ชีวิตที่ดีขึ้น เป็นมงคลแก่ชีวิตตนและครอบครัว วางแผนเวลาชีวิตดีๆแล้วหาโอกาสมาสักครั้ง ที่พระธาตุนาดูน ความเป็นมา บริเวณพระธาตุนาดูน ที่นี่เคยเป็นอาณาจักรโบราณร่วมสมัยกับทวารวดีมีชื่อว่านครจัมปาศรี (ซึ่งเกี่ยวกับนิทาน ปะลำปะลาของอีสานเรื่องจัมปาสี่ต้น) สันนิษฐานว่ามีความรุ่งเรืองอยู่ 2 ยุค คือ พ. ศ. 1000 - 1200 (ยุคทวารวดี) และ พ. ศ. 1600 - 1800 (ยุคลพบุรี) เป็นนครที่มีความรุ่งเรืองทางศาสนาและวัฒนธรรม มีบันท...
    พระบรมธาตุนาดูน
    เราชาวพุทธการทำบุญเป็นเรื่องสำคัญ ผู้คนมักเดินทางไปไว้พระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่พึ่งทางใจ บ้างไปขอในสิ่งที่มุ่งหวังบ้างไปขอแค่ความสบายใจ พระธาตุนาดูนเป็นพุทธมณฑลแห่งภูมิภาคอีสาน จึงเป็นเสมือนสถานที่รวมจิตใจของผู้คน ต่างเดินทางมาที่นี่มิได้ขาดสายยิ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาแล้วละก็ ผู้คนหล่ังไหลนับเป็นเรือนหมื่นเรือนแสน ราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ชาวอำเภอนาดูนก็จะร่วมใจกันจัด “งานนมัสการพระบรมธาตุนาดูน” นี่แหละคืองานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองมหาสารคาม มีการบวงสรวงองค์พระธาตุ การสวดมนต์ การทำบุญ ตอนกลางคืนก็มีการประดับไฟองค์พระธาตุอย่างสวยงาม หายทุกข์ หายโศก ได้โชค ได้ชีวิตที่ดีขึ้น เป็นมงคลแก่ชีวิตตนและครอบครัว วางแผนเวลาชีวิตดีๆแล้วหาโอกาสมาสักครั้ง ที่พระธาตุนาดูน ความเป็นมา บริเวณพระธาตุนาดูน ที่นี่เคยเป็นอาณาจักรโบราณร่วมสมัยกับทวารวดีมีชื่อว่านครจัมปาศรี (ซึ่งเกี่ยวกับนิทาน ปะลำปะลาของอีสานเรื่องจัมปาสี่ต้น) สันนิษฐานว่ามีความรุ่งเรืองอยู่ 2 ยุค คือ พ. ศ. 1000 - 1200 (ยุคทวารวดี) และ พ. ศ. 1600 - 1800 (ยุคลพบุรี) เป็นนครที่มีความรุ่งเรืองทางศาสนาและวัฒนธรรม มีบันท...
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน (ปูทูลกระหม่อม )
    ป่าดูนลำพันเป็นป่าพรุน้ำจืดที่มีตาน้ำผุดขึ้นมากลางป่า การผุดของตาน้ำเป็นที่มาของคำว่า "ดูน" ในภาษาอีสาน และในหนองน้ำนั้นก็เต็มไปด้วยต้นธูปฤาษี ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่า "ต้นลำพัน" เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า เช่น ปูทูลกระหม่อม กระรอกขาว นก แลน และอุดมไปด้วยพืชสมุนไพร เช่น เถาพันซ้าย กวาวเครือ องุ่นป่า ว่านแผ่นดินเย็นฯ ในป่านี้มีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติที่สร้างด้วยคอนกรีตยาว 2 กิโลเมตร ทำให้นักท่องเที่ยวเดินเที่ยวชมได้อย่างสะดวก ปูทูลกระหม่อมเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น สีสันสวยงาม มีสีส้มหรือสีม่วงเปลือกมังคุด ก้ามใหญ่ปูพันธุ์นี้มีที่นี่ที่เดียวในโลก จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 14 ชื่อ "ปูทูลกระหม่อม" ได้รับพระราชธานชื่อจาก "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" ถือได้ว่าป่าดูนลำพันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดมหาสารคาม
    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน (ปูทูลกระหม่อม )
    ป่าดูนลำพันเป็นป่าพรุน้ำจืดที่มีตาน้ำผุดขึ้นมากลางป่า การผุดของตาน้ำเป็นที่มาของคำว่า "ดูน" ในภาษาอีสาน และในหนองน้ำนั้นก็เต็มไปด้วยต้นธูปฤาษี ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่า "ต้นลำพัน" เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า เช่น ปูทูลกระหม่อม กระรอกขาว นก แลน และอุดมไปด้วยพืชสมุนไพร เช่น เถาพันซ้าย กวาวเครือ องุ่นป่า ว่านแผ่นดินเย็นฯ ในป่านี้มีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติที่สร้างด้วยคอนกรีตยาว 2 กิโลเมตร ทำให้นักท่องเที่ยวเดินเที่ยวชมได้อย่างสะดวก ปูทูลกระหม่อมเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น สีสันสวยงาม มีสีส้มหรือสีม่วงเปลือกมังคุด ก้ามใหญ่ปูพันธุ์นี้มีที่นี่ที่เดียวในโลก จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 14 ชื่อ "ปูทูลกระหม่อม" ได้รับพระราชธานชื่อจาก "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี" ถือได้ว่าป่าดูนลำพันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดมหาสารคาม
Other Routes...