275 คนดู · 21 Feb 2024
#ประเทศไทย#เพชรบุรี#เมืองเพชรบุรี#แหล่งท่องเที่ยว วัดใหญ่สุวรรณารามจัดเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร อยู่ที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีการปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ 4 มีอาคารสำคัญได้แก่
พระอุโบสถเป็นศิลปะอยุธยา มีภาพทวารบาล จิตรกรรมภาพเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น จุดเด่นคือภาพยักษ์และอมนุษย์ทั้งหลายเป็นหน้าเนื้อ ไม่ใช่การวาดเหมือนสวมหัวโขนโดยทั่วไป พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยรูปหล่อพระสังฆราชแตงโม หน้าบันเป็นงานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต วิหารคต
ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณารามเป็นสถาปัตยกรรม-ศิลปกรรมยุคอยุธยาตอนปลาย สร้างด้วยไม้ผนังเป็นฝาปะกน ลงรักปิดทอง แต่การบูรณะผิดพลาดทำให้ถูกทาทับด้วยสีแดงทั้งหลัง เครื่องหลังคาเป็นโครงประดุชนิดมีจันทันต่อ มุงด้วยกระเบื้องกาบูแต่ด้วยการบูรณะที่ไม่ถูกต้องจึงมีการเทปูนตำ(ปูนโบราณ)ลงฉาบทั้งผืนหลังคา แต่ปูนตำเป็นปูนที่ใช้กะดาษฟางเป็นส่วนผสมจึงทำให้อมความชื้นและมีตะใคร่ขึ้นจับหลังคา ศาลาการเปรียญเดิมเป็นของเจ้าฟ้าพระขวัญ ตำหนัก ต่อมาพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ รื้อมาถวายพระสังฆราชแตงโม โดยทางขึ้นศาลาการเปรียญ มีบานประตูแกะสลักที่งดงามและมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปกรรมนั่นคือเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่บานประตูมีหลัก มีรอยแผลบนประตู ทำให้มีประตูแตก ชำรุดถาวร เรียกรอยพม่าฟัน ซึ่งนักวิชาการบางส่วนมีความเห็นว่าอาจจะเป็นการทำลายประตูตั้งแต่ครั้งรื้อตำหนักถวายสมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุณี) พระสังฆราช เกี่ยวเนื่องกับเรื่องวิญญานเจ้าฟ้าพระขวัญ เจ้าของตำหนักเดิม ที่ถูกพระเจ้าเสือสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อครั้งสมเด็จพระเพทราชาประชวรใกล้สวรรคต
นอกจากนั้นศาลาการเปรียญแห่งนี้มีบุษบกที่ใช้ประดิษฐานพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร บนพระที่นั่งทรงธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2560 โดยได้รับการบูรณะซ่อมแซม และเพิ่มเติมหุ่นเทวดาครุฑ และเฟื่อง
หอเก็บพระไตรปิฏก เป็นอาคารไม้ผนังฝาปะกน รองรับด้วยเสาไม้ 3 เสา จากแนวคิดที่ว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย 3 ปิฎกคือ พระธรรมปิฏก พระไตรปิฏก และพระสุตันตปิฎก จากภาพเป็นอาคารไม้ขนาดเล็กตั้งอยู่ในน้ำ (ขวาสุดของภาพ) เป็นอาคารที่สร้างในสมัยอยุธยา และด้วยสภาพของอาคารที่ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา จึงมีการสร้างอาคารหลังใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2470 (รัชกาลที่ 6) แต่อย่างไรก็ตามอาคารหลังเก่ายังคงเก็บรักษาไว้ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา