เส้นทางชุมชุนท่องเที่ยว
เส้นทางท่องเที่ยว 7 สถานที่
  • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านแขนน
    "สืบสานวัฒนธรรม กิจกรรมโนราบิก เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นถิ่นถลาง" หมู่บ้านแขนน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บางส่วนติดกับอุทยานแห่งชาติเขาพระแทว เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เพราะมีหลักฐานทางโบราณสถาน คือ หลักสถูปโบราณ 3 องค์ มีวัดร้าง 1 แห่ง และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวีรสตรีไทยท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร ตอนสู้รบกับพม่าเพื่อรักษาเมืองถลาง เดิมบ้านแขนนมีพื้นที่กว้างขวางมีอาณาเขตตั้งแต่ หมู่ที่ 1 บ้านบ่อกรวด ไปจรดเทือกเขาพระแทว แต่ต่อมามีการแยกพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ หมู่ที่ 2 บ้านแขนน และหมู่ที่ 11 บ้านควน
    ชุมชนท่องเที่ยวบ้านแขนน
    "สืบสานวัฒนธรรม กิจกรรมโนราบิก เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นถิ่นถลาง" หมู่บ้านแขนน ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร พื้นที่บางส่วนติดกับอุทยานแห่งชาติเขาพระแทว เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เพราะมีหลักฐานทางโบราณสถาน คือ หลักสถูปโบราณ 3 องค์ มีวัดร้าง 1 แห่ง และประวัติศาสตร์เกี่ยวกับวีรสตรีไทยท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร ตอนสู้รบกับพม่าเพื่อรักษาเมืองถลาง เดิมบ้านแขนนมีพื้นที่กว้างขวางมีอาณาเขตตั้งแต่ หมู่ที่ 1 บ้านบ่อกรวด ไปจรดเทือกเขาพระแทว แต่ต่อมามีการแยกพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ หมู่ที่ 2 บ้านแขนน และหมู่ที่ 11 บ้านควน
  • ชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต
    "ยลเมืองเก่า เล่าความหลัง สัมผัสวิถี เสน่ห์เมืองทุ่งคา" ภูเก็ต ดินแดนแห่งไข่มุกอันดามันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเล สวรรค์ ของนักท่องเที่ยวที่ต้องมาเยือนซักครั้งในชีวิต นอกจากภูเก็ตจะเป็นที่ต้องตาต้องใจของนักท่องเที่ยวแล้ว ยังมีชุมชนย่านเมืองเก่าที่หล่อหลอมวัฒนธรรมหลากหลายรูปมารวมกัน จนเป็นชุมชนย่านเมืองเก่า ผ่านเข้าไปในย่านเมืองเก่าภูเก็ตจะสะดุดตากับตึกแถวแบบโบราณเรียงรายสองฝั่งถนน ที่เป็น ร่องรอยประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองสมัยรัชกาลที่5 ยุคสมัยการทำเหมืองแร่เฟื่องฟู ให้ได้สัมผัส เสน่ห์สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส และชมความงดงามแบบคลาสสิค ชาวบ้านย่านเมืองเก่า จึงริเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาคารชิโนโปรตุกีสพร้อมทั้งอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่าให้ลูกหลานได้เห็นคุณค่าสืบต่อไป
    ชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต
    "ยลเมืองเก่า เล่าความหลัง สัมผัสวิถี เสน่ห์เมืองทุ่งคา" ภูเก็ต ดินแดนแห่งไข่มุกอันดามันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเล สวรรค์ ของนักท่องเที่ยวที่ต้องมาเยือนซักครั้งในชีวิต นอกจากภูเก็ตจะเป็นที่ต้องตาต้องใจของนักท่องเที่ยวแล้ว ยังมีชุมชนย่านเมืองเก่าที่หล่อหลอมวัฒนธรรมหลากหลายรูปมารวมกัน จนเป็นชุมชนย่านเมืองเก่า ผ่านเข้าไปในย่านเมืองเก่าภูเก็ตจะสะดุดตากับตึกแถวแบบโบราณเรียงรายสองฝั่งถนน ที่เป็น ร่องรอยประวัติศาสตร์อันรุ่งเรืองสมัยรัชกาลที่5 ยุคสมัยการทำเหมืองแร่เฟื่องฟู ให้ได้สัมผัส เสน่ห์สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส และชมความงดงามแบบคลาสสิค ชาวบ้านย่านเมืองเก่า จึงริเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของอาคารชิโนโปรตุกีสพร้อมทั้งอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่าให้ลูกหลานได้เห็นคุณค่าสืบต่อไป
  • ชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา
    "อ้อมกอดภูเขา อิงแอบทะเล วิถีวัฒนธรรมหลาย กิจกรรมอาชาบำบัด" ตำบลกมลา เป็นตำบลในอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ตเป็นชื่อเดียวกับ กราบาลา หรืออ่าวลึกชื่อกำมะรา นี้ได้ใช้มาจนกระทั่ง ทำเนียบท้องที่ของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2486 หลังจากนั้นจึงมีผู้เกิดความคิดขึ้นมาว่า กำมะรา แปลไม่ได้ จึงได้เปลี่ยนให้เป็น กมลาเป็นภาษาไทยผสมอินเดียที่แปลว่า ดอกบัว
    ชุมชนท่องเที่ยวตำบลกมลา
    "อ้อมกอดภูเขา อิงแอบทะเล วิถีวัฒนธรรมหลาย กิจกรรมอาชาบำบัด" ตำบลกมลา เป็นตำบลในอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ตเป็นชื่อเดียวกับ กราบาลา หรืออ่าวลึกชื่อกำมะรา นี้ได้ใช้มาจนกระทั่ง ทำเนียบท้องที่ของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2486 หลังจากนั้นจึงมีผู้เกิดความคิดขึ้นมาว่า กำมะรา แปลไม่ได้ จึงได้เปลี่ยนให้เป็น กมลาเป็นภาษาไทยผสมอินเดียที่แปลว่า ดอกบัว
  • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านเกาะโหลน-ราไวย์
    "อาหารสด ทะเลใส ราไวย์ ราโว้ย โวยวาย เกาะโหลน" ณ เกาะโหลนที่สวยงามมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ แต่เดิมทีนั้นไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยป่าที่สมบูรณ์ จนเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ได้มีชาวสตูลซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ได้เดินทางมาถึงเกาะแห่งนี้และได้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ จากนั้นก็มีคนเห็นว่ามีผู้อยู่อาศัยจึงตามกันมาเพื่อตั้งถิ่นฐาน ณ เกาะแห่งนี้ จนในที่สุดก็เกิดเป็นชุมชนมุสลิมเล็ก ๆ ขึ้น โดยกว่า 80% นับถือศาสนาอิสลามและ 20% นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเอกลักษณ์ของที่นี่ก็คงหนีไม่พ้นความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายตามวิถีชาวประมงที่ผูกพันกับท้องทะเล นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมของชาวมุสลิมที่ผสานกับชาวพุทธและอยู่ร่วมกันอย่างสันติและยังอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นของดีคือผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะที่มีการเพ้นท์ออกมาอย่างสวยงาม เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่นักท่องเที่ยวต้องติดไม้ติดมือกลับบ้านไป ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามของวิสาหกิจชุมชนตําบลราไวย์เกาะโหลน ที่ผสานรวมตัว ก่อให้เกิดพลังและความสามัคคีจนกลายเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีความเข้มแข็งไม่แพ้ชุมชนไหน ๆ
    ชุมชนท่องเที่ยวบ้านเกาะโหลน-ราไวย์
    "อาหารสด ทะเลใส ราไวย์ ราโว้ย โวยวาย เกาะโหลน" ณ เกาะโหลนที่สวยงามมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ แต่เดิมทีนั้นไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยป่าที่สมบูรณ์ จนเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ได้มีชาวสตูลซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ได้เดินทางมาถึงเกาะแห่งนี้และได้ตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ จากนั้นก็มีคนเห็นว่ามีผู้อยู่อาศัยจึงตามกันมาเพื่อตั้งถิ่นฐาน ณ เกาะแห่งนี้ จนในที่สุดก็เกิดเป็นชุมชนมุสลิมเล็ก ๆ ขึ้น โดยกว่า 80% นับถือศาสนาอิสลามและ 20% นับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเอกลักษณ์ของที่นี่ก็คงหนีไม่พ้นความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายตามวิถีชาวประมงที่ผูกพันกับท้องทะเล นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมของชาวมุสลิมที่ผสานกับชาวพุทธและอยู่ร่วมกันอย่างสันติและยังอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นของดีคือผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะที่มีการเพ้นท์ออกมาอย่างสวยงาม เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่นักท่องเที่ยวต้องติดไม้ติดมือกลับบ้านไป ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามของวิสาหกิจชุมชนตําบลราไวย์เกาะโหลน ที่ผสานรวมตัว ก่อให้เกิดพลังและความสามัคคีจนกลายเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีความเข้มแข็งไม่แพ้ชุมชนไหน ๆ
  • ชุมชนท่องเที่ยวตำบลป่าคลอก
    "ไข่มุกนาคา ภูผาน้ำตก ยกย่องเกษตร ของเขตชนบท สะกดว่าพอเพียง ร้อยเรียง ตามรอยพ่อ" ตำบลป่าคลอก เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมามีสภาพเป็นป่าทึบ ต้นไม้สูงใหญ่ สัตว์ป่านานาชนิดชุกชุม ต่อมาพม่าต้องการเมืองขึ้นจึงได้ยกพล 9 ทัพ เข้ามาตีเมืองต่าง ๆ และพม่าได้ยกพลมาตีเมืองถลางส่วนหนึ่งยกทัพมาแถบบริเวณชายทะเล ได้เกิดการปะทะกันฆ่าผู้คนล้มตายเกลื่อนกลาด พม่าได้จับเด็กแล้วใช้ไฟคลิกเผา ต่อมาคุณหญิงจัน-คุณหยิงมุกได้รวบรวมคนมาต่อสู้กับพม่า จนพม่าขาดเสบียงยกทัพกลับไปจึงเรียกว่า "ป่าคลอก" จนถึงปัจจุบัน
    ชุมชนท่องเที่ยวตำบลป่าคลอก
    "ไข่มุกนาคา ภูผาน้ำตก ยกย่องเกษตร ของเขตชนบท สะกดว่าพอเพียง ร้อยเรียง ตามรอยพ่อ" ตำบลป่าคลอก เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมามีสภาพเป็นป่าทึบ ต้นไม้สูงใหญ่ สัตว์ป่านานาชนิดชุกชุม ต่อมาพม่าต้องการเมืองขึ้นจึงได้ยกพล 9 ทัพ เข้ามาตีเมืองต่าง ๆ และพม่าได้ยกพลมาตีเมืองถลางส่วนหนึ่งยกทัพมาแถบบริเวณชายทะเล ได้เกิดการปะทะกันฆ่าผู้คนล้มตายเกลื่อนกลาด พม่าได้จับเด็กแล้วใช้ไฟคลิกเผา ต่อมาคุณหญิงจัน-คุณหยิงมุกได้รวบรวมคนมาต่อสู้กับพม่า จนพม่าขาดเสบียงยกทัพกลับไปจึงเรียกว่า "ป่าคลอก" จนถึงปัจจุบัน
  • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านบางเทา-เชิงทะเล
    "หาดสวย ทะเลใส สับปรดหวานฉ่ำ ข้าวยำ รสเด็ด" ตำบลเชิงทะเล เดิมเป็นตำบลที่อยู่ติดบริเวณชายหาด น้ำทะเลท่วมไม่ถึง มีพื้นที่ติดกับบริเวณชายหาด จึงเรียกว่าตำบลเชิงทะเล ปัจจุบันมีหาดสุรินทร์ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ประมง ค้าขาย และรับจ้าง มีทั้งชุมชนชาวพุธและอิสลามอยู่ร่วมกัน มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการผลิตสินค้าเกษตรและมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกด้วย
    ชุมชนท่องเที่ยวบ้านบางเทา-เชิงทะเล
    "หาดสวย ทะเลใส สับปรดหวานฉ่ำ ข้าวยำ รสเด็ด" ตำบลเชิงทะเล เดิมเป็นตำบลที่อยู่ติดบริเวณชายหาด น้ำทะเลท่วมไม่ถึง มีพื้นที่ติดกับบริเวณชายหาด จึงเรียกว่าตำบลเชิงทะเล ปัจจุบันมีหาดสุรินทร์ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ประมง ค้าขาย และรับจ้าง มีทั้งชุมชนชาวพุธและอิสลามอยู่ร่วมกัน มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีการผลิตสินค้าเกษตรและมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกด้วย
  • ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าฉัตรไชย
    "ตำนานรักสารสิน ถิ่นมอเกล็น แดนวัฒนธรรม" บ้านท่าฉัตรไชย เดิม เรียกบ้านแหลมหลา ในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดภูเก็ต บริเวณแหลมหลา ได้สร้างศาลาสำหรับประทับรับเสด็จ บน หลังคาที่ฉัตร เป็นเครื่องหมายของพระมหากษัตริย์ไทย ศาลาดังกล่าวอยู่บริเวณริมทะเล ซึ่งเรียกว่า ท่า จึงเป็นที่มาของ”ท่าฉัตรไชย” ต่อมาชาวบ้านมักจะเรียก ท่าฉัตรไชยมากกว่า แหลมหลา จึง เรียกชื่อเป็นทางราชการว่า “บ้านท่าฉัตรไชย” หมู่ที่ ๕ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตจนถึง ปัจจุบันนี้
    ชุมชนท่องเที่ยวบ้านท่าฉัตรไชย
    "ตำนานรักสารสิน ถิ่นมอเกล็น แดนวัฒนธรรม" บ้านท่าฉัตรไชย เดิม เรียกบ้านแหลมหลา ในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสจังหวัดภูเก็ต บริเวณแหลมหลา ได้สร้างศาลาสำหรับประทับรับเสด็จ บน หลังคาที่ฉัตร เป็นเครื่องหมายของพระมหากษัตริย์ไทย ศาลาดังกล่าวอยู่บริเวณริมทะเล ซึ่งเรียกว่า ท่า จึงเป็นที่มาของ”ท่าฉัตรไชย” ต่อมาชาวบ้านมักจะเรียก ท่าฉัตรไชยมากกว่า แหลมหลา จึง เรียกชื่อเป็นทางราชการว่า “บ้านท่าฉัตรไชย” หมู่ที่ ๕ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ตจนถึง ปัจจุบันนี้
Other Routes...